ระบบฐานข้อมูลและแบบจำลองเพื่อการวิจัยทางสมุทรศาสตร์สำหรับประเทศไทย

"บูรณาการ พัฒนาต่อยอด สร้างการรับรู้ เพื่อการวิจัยทางสมุทรศาสตร์"

ความเป็นมา

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ร่วมกับคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศสาสตร์ และผู้เชียวชาญจาก Deltares ประเทศเนเธอร์แลนด์ พัฒนาแบบจำลองทางสมุทรศสาสตร์และระบบเตือนภัยล่วงหน้าบริเวณอ่าวไทยที่ทำงานแบบอัตโนมัติทุกวันอย่างเต็มรูปแบบ

ในช่วงเหตุการณ์พายุโซนร้อนปาบึกที่ผ่านมาในปี พ.ศ. 2562 ได้นำระบบดังกล่าวมาช่วยสนับสนุนในการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ ผลคาดการณ์ที่ถูกต้องและแม่นยำมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการเตือนภัยและอพยพประชาชนอย่างทันท่วงที และสามารถลดความสูญเสียจากพายุได้

ผลสำเร็จจากความร่วมมือ นำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบคาดการณ์และเตือนภัยล่วงหน้าบริเวณอ่าวไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พัฒนาเทคโนโลยีในการตรวจวัดทางทะเลที่ยั่งยืน และริเริ่มสร้างฐานข้อมูลด้านสมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อมทางทะเลสำหรับประเทศไทย อาทิเช่น

  • การพัฒนาสถานีตรวจวัดทางทะเลแบบโทรมาตรแบบครบวงจร
  • การพัฒนาทุ่นลอยเพื่อติดตามการไหลเวียนของกระแสน้ำผ่านระบบดาวเทียม
  • การต่อยอดพัฒนาแบบจำลองอุทกพลศสาสตร์ 3 มิติ และแบบจำลองคุณภาพน้ำทะเล

ระบบคาดการณ์และเตือนภัยล่วงหน้าบริเวณอ่าวไทย

ระบบคาดการณ์และเตือนภัยล่วงหน้าบริเวณอ่าวไทยระบบ ประกอบด้วยแบบจำลองอุทกพลศาสตร์ (Delft3D FM) และแบบจำลองคลื่น (SWAN) ซึ่งแบบจำลองทั้งหมดทำงานบนระบบปฏิบัติการ Delft-FEWS ที่มีความทันสมัย

ระบบคาดการณ์ทำงานอัตโนมัติทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเตรียมข้อมูลนำเข้าสำหรับแบบจำลองไปจนถึงจัดการผลลัพธ์เพื่อการแสดงผล โดยคาดการณ์ระดับน้ำทะเลสุทธิล่วงหน้า 3 วัน ซึ่งเป็นผลรวมทุกอิพลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ น้ำขึ้นน้ำลง ระดับน้ำคลื่นซัดฝั่ง และระดับน้ำจากคลื่นยกตัว

นอกจากการใช้แบบจำลองเพื่อการเตือนภัยแล้ว แบบจำลองยังพื้นฐานที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานศึกษาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การศึกษาการรุกตัวของความเค็ม คุณภาพน้ำทะเล การพัดพาของขยะทะเล การเคลื่อนที่ของลูกปูม้า เป็นต้น

สถานีตรวจวัดทางทะเลแบบโทรมาตร

สถานีตรวจวัดทางทะเลแบบโทรมาตร "GOT001" ตั้งอยู่ที่สถานีวิจัยประมงศรีราชา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดชลบุรี เป็นสถานีตรวจวัดทางทะเลแห่งแรกที่มีการตรวจวัดแบบ real-time

สถานีติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดข้อมูลสภาพอากาศและข้อมูลทางสมุทรศาสตร์ โดยมีแผงโซล่าร์เซลล์และแบตเตอรี่เป็นแหล่งพลังงาน ภายในสถานีมีกล่องกันน้ำที่บรรจุแผงวงจรควบคุมอุปกรณ์ตรวจวัดและอุปกรณ์รับส่งข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต 3G/4G

สถานีโทรมาตรมีการส่งข้อมูลมายังระบบส่วนกลางแบบอัตโนมัติ ทำให้สามารถติดตามสถานการณ์และแสดงผลผ่านทางเว็บไซต์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

ทุ่นลอยเพื่อติดตามกระแสน้ำ

การพัฒนาทุ่นลอยใช้ชื่อว่า “ทุ่นกระแสสมุทร” เพื่อช่วยในการติดตามการเคลื่อนที่ของกระแสน้ำใกล้ผิวน้ำ การออกแบบทุ่นลอยมีลักษณะที่เรียบง่ายและไม่ซับซ้อน ราคาถูก สามารถผลิตได้ในประเทศไทย

เมื่อนำทุ่นลอยปล่อยในทะเล ทุ่นจะรับข้อมูลพิกัดตำแหน่งผ่านระบบ GPS และส่งข้อมูลตำแหน่งตัวเองผ่านระบบดาวเทียม ซึ่งออกแบบให้สามารถทำงานในทะเลได้อย่างต่อเนื่อง 30 วัน โดยข้อมูลตำแหน่งของทุ่นลอยสามารถแสดงผลผ่านทางเว็บไซต์แบบ real-time

ข้อมูลที่ได้จากทุ่นลอยเป็นการตรวจวัดการเคลื่อนที่ของกระแสน้ำที่เกิดขึ้นจริงในทะเล ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการปรับเทียบและตรวจสอบความถูกต้องของแบบจำลองเพื่อจำลองการไหลเวียนกระแสน้ำและต่อยอดงานวิจัยด้านสมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม

กลุ่มงานแบบจำลอง

สถิตย์ จันทร์ทิพย์

หัวหน้างานแบบจำลอง
ฝ่ายนวัตกรรมสารสนเทศทรัพยากรน้ำ

วาทิน ธนาธารพร

นักวิจัย
ฝ่ายนวัตกรรมสารสนเทศทรัพยากรน้ำ

อภิมุข มุขตารี

นักพัฒนาแบบจำลอง
ฝ่ายนวัตกรรมสารสนเทศทรัพยากรน้ำ

ธีรพล เจริญสุข

หัวหน้างานแบบจำลอง
ฝ่ายนวัตกรรมสารสนเทศทรัพยากรน้ำ

ณรงค์ฤทธิ์ เหลืองดิลก

นักพัฒนาแบบจำลอง
ฝ่ายนวัตกรรมสารสนเทศทรัพยากรน้ำ

ทิชา โลลุพิมาน

นักพัฒนาแบบจำลอง
ฝ่ายนวัตกรรมสารสนเทศทรัพยากรน้ำ

คชาภรณ์ เจตนาวณิชย์

นักพัฒนาแบบจำลอง
ฝ่ายนวัตกรรมสารสนเทศทรัพยากรน้ำ

ศุภณัฐ สิทธิการ

ผู้ช่วยนักวิจัย
ฝ่ายนวัตกรรมสารสนเทศทรัพยากรน้ำ

อัจฉริยา ไชยชาติ

ผู้ช่วยนักวิจัย
ฝ่ายนวัตกรรมสารสนเทศทรัพยากรน้ำ